Skip to content

ประวัติความเป็นมาและวิวัฒนาการก่อนที่จะมาเป็น Turntable

August 27, 2011

เริ่มต้นขึ้นเมื่อศตวรรษที่ 18 Thomas Young [ค.ส. 1773-1829] นักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษ ได้ค้นพบว่า เสียงสามารถเปลี่ยนเป็นแรงสั่นสะเทือนและวัดได้ด้วยคลื่น จากแนวคิดขั้นพื้นฐานของเขา จึงทำให้มีการประดิษฐ์การบันทึกเสียงด้วยกระบอกเสียงตามมา

ต่อมาด้วย Edouard-Leon Scott Martinville ชาวฝรั่งเศส เขาได้ศึกษาเกี่ยวกับการได้ยินของมนุษย์โดยเน้นไปที่โครงสร้างของภายในหู และค้นพบว่าแก้วหูสามารถรับแรงสั่นสะเทือนของคลื่นเสียงและแปรเปลี่ยนเป็นความหมายของเสียงได้ และยังเปรียบเทียบอีกว่าใบหูของมนุษย์ก็เปรียบเสมือนกรวยรับเสียง เขาจึงเป็นผู้ประดิษฐ์รูปร่างการบันทึกเสียงขึ้นเรียกว่า Phonautograph ในปี 1857 ซึ่งมีวัสดุรูปทรงกรวยกระบอกขึ้นซึ่งทำหน้าที่จับคลื่นเสียง และที่ปลายของกรวยนั้นมี ไดอะแฟรมที่ยึดติดกับหัวเข็ม[stylus] ที่นำมาจากขนที่แข็งของหมู เมื่อมีคลื่นเสียงเข้ามาในกรวยจะทำให้แผ่นไดอะแฟรมนั้นสั่นสะเทือนและหัวเข็มก็จะสั่นสะเทือนด้วย ปลายหัวเข็มจะไปขูดกับกระบอกอัดเสียงที่ติดกับกระดาษเขม่ารมควัน ถ่ายทอดแรงสั่นสะเทือนของคลื่นเสียงลงบนกระบอกอัดเสียง และมันจะทำหน้าที่หมุนไปตามร่องที่เกิดจากการอัดเสียงของการขูดของขนหมู แต่เครื่อง phonautograph ของเขานั้นไม่สามารถเล่นย้อนกลับได้

ต่อมาในปี 1877 Charles Cros ชาวฝรังเศส เขาได้ศึกษาและพัฒนาแบบแผนและโครงสร้างของเครื่อง phonograph และเรียกสิ่งที่เขาคิดค้นขึ้นมาว่า Paleophone และยังได้มีโครงร่างเกี่ยวกับการอัดเสียงโดยไม่ใช้วัสดุทรงกระบอก แต่ใช้วัสดุที่เป็นลักษณะแบนราบแทนซึ่งนี่เป็นความคิดเบื้องต้นของการอัดเสียงด้วแผ่น แต่ยังเป็นเพียงแค่การคิดค้นขึ้นเฉยๆ ซึ่งในขณะเดียวกันนั้นช่วงปี 1877 Thomas Alva Edison นักประดิษฐ์ชาวอเมริกัน ก็ได้ผลิตเครื่องอัดเสียง Phonograph ขึ้นอย่างสมบูรณ์แบบและพร้อมที่จะใช้งาน โดยใช้วัสดุที่ทำจากปูนปาสเตอร์หล่อเป็นรูปทรงกลมคล้ายกระบอกไม้ไผ่และหุ้มด้วยแผ่นดีบุกบางๆรอบๆ [ Tin Foil Cylinder ] หรือผิวด้านนอกกระบอกอาจจะถูกฉาบด้วยขึ้ผึ้งแข็ง และเครื่องอัดเสียงของนี้มีหลักการทำงานโดยใช้วีธีไขลานของกระบอกปูนปลาสเตอร์ที่ห่อหุ้มด้วยแผ่นดีบุกที่ถูกตีเป็นแผ่นบางๆ [ Tin-Foil ] หรือ ขึ้ผึ้ง อัดเสียงเข้าไปทางลำโพงโดยคลื่นเสียงนั้นจะไปสั่นแผ่นไดอะแฟรมและจะไปสั่นที่เข็มเหล็กตรงปลาย เข็มนั้นจะไปขูดบนแผ่นดีบุกหรือไปขูดกับขี้ผึ้งบนรูปทรงกระบอกทำให้เกิดเป็นร่องเสียงขึ้น ตั้งแต่เริ่มต้นส่วนหัวของกระบอกจนจบลงที่ปลายของกระบอก แต่เมื่อนำมาเล่นซ้ำบนร่องเดิมที่อัดเสียงไว้สักสองถึงสามครั้งแผ่นดีบุกจะเริ่มยับและเข็มก็จะตกร่องตามไปด้วย  แต่นี่ก็ถือเป็นต้นกำเนิดของการบันทึกเสียงด้วยแผ่นดีบุก [ TIn Foil Cylinder]

Thomas Alva Edison ได้จดทะเบียนกรรมสิทธิเครื่องบันทึกเสียงที่เขาคิดค้นไว้ และยังทำออกจำหน่ายและพัฒนาการใช้กระบอกเสียงอย่างต่อเนื่องโดยใช้ชื่อว่า Edison Cylinder ซึ่งก็ได้แบ่งประเภทของกระบอกเสียงสำหรับการอัดเอาไว้ด้วย

ต่อมาในปี 1886 Charles Sumner Trainter วิศวกรชาวอเมริกันได้พัฒนาเครื่องบันทึกเสียงขึ้นเรียกว่า Graphophone  ซึ่งเขาได้ร่วมมือทำงานกับ Alexander Grahm Bell ผู้ประดิษฐ์และคิดค้นทฤษฎีของโทรศัพท์  Charles ได้ประสบความสำเร็จในการประดิษฐ์กระบอกเสียงหุ้มด้วยไขขี้ผึ้งแข็ง และพัฒนากระบอกเสียงด้วยการหุ้มด้วยขี้ผึ้งผสมยางหรือเคลือบด้วยแว๊กซ์ ซึ่งก็เป็นที่ยอมรับและได้ถูกใช้แทนกระบอกแผ่นดีบุก [ Tin-Foil ] ซึ้งข้อดีของมันคือหลังจากอัดเสียงแล้วสามารถเล่นกลับได้หลายครั้ง เครื่อง  Graphophone จึงเป็นที่แพร่หลายและนำไปใช้งาน ใช้ประโยชน์ได้จริง

ต่อมาในปี 1887 Emile Berliner ชาวเยอรมัน เขาได้ศึกษาทฤษฎีของ Charles Cros และทดลองการอัดเสียงลงในวัสดุที่แบนราบแทนวัสดุทรงกระบอก โดยใช้แผ่นสังกะสีมาตัดขอบเป็นวงกลม และทำแผ่นสังกะสีนี้ไปเคลือบกับขี้ผึ้งผสมกับน้ำมัน จากนั้นนำแผ่นที่เคลือบเรียบร้อยแล้วไปวางบนเครื่องที่มีหัวเข็ม และแกนร่องนำ วิธีการอัดเสียงก็เหมือนกันกับ Thomas Edison แผ่นดังกล่าวก็จะมีการเชาะร่องลงอันเป็นผลที่เกิดมาจากการอัดเสียง และต่อมาในปี 1891 เขาได้พัฒนาคุณภาพของการผลิตแผ่นเสียงโดยเลือกใช้วัสดุ ยางย้อมสีดำและน้ำมันชแลคผสมกับขี้ครั่ง เขาเป็นผู้ประดิษฐ์แผ่นเสียงสำเร็จเป็นคนแรก และเป็นแผ่นเสียงที่เราใช้กันมาจนถึงปัจจุบัน และเขาเรียกเครื่องที่เล่นแผ่นนี้ว่า  Gramophone

From → Uncategorized

Leave a Comment

Leave a comment